วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีและเทคนิคการปลูกในกระสอบไว้ทานเองสำหรับคนเมือง

ผมเป็นคนหนึ่งที่อยู่บ้านจัดสรร พื้นที่บ้านไม่มากนัก แต่รักการปลูกต้นไม้ปลูกผักสวนครัวไว้กินเองทั้งประหยัดและปลอดภัย สบายใจกว่าการซื้อกินมาก สำหรับคนที่มีพื้นที่จำกัดจริงๆ บ้านเป็นทาวเฮาส์หรือบ้านจัดสรร การปลูกผักในกระสอบเป็นทางเลือกที่ดีมาก การกินผักที่ปลูกด้วยฝีมือตัวเอง ที่สำคัญปลอดสารพิษ และช่วยลดรายจ่ายของครอบครัวได้ทางหนึ่ง คนที่มีเงินก็จะคิดว่ามันเป็นเรื่องยุ่งยาก มีเงินฉันซื้อเอาก็ได้ แต่คุณก็ซื้อผักแถมสารเคมีตกค้างอยู่ดี ถึงแม้ว่าคุณบอกว่ามีเงินซื้อผักปลอดสารพิษตามห้าง แต่คุณมั่นใจได้อย่างไรว่ามันปลอดสารพิษจริงถ้าคุณไม่ได้ปลูกเอง ที่สำคัญเงินซื้อความสุขจากการได้ปลูก จากการได้เฝ้าดูการเจริญเติบโตของผักไม่ได้ ฝากให้คิดเล็กน้อยครับ


วิธีการปลูกผักในกระสอบ
การปลูกผักในกระสอบมี 2 แบบ คือ แนวนอน กับแนวตั้ง
-การวางประสอบแบบนอน เหมาะสำหรับการปลูกพวกผักกาด หอม ผักชี Red Oak พืชที่ไม่ลงรากลึกมากนัก
-การวางกระสอบแบบตั้ง เหมาะสำหรับการปลูกพริก มะเขือ ฟักทอง แตงกวา กะเพรา โหรพา พืชที่ลงรากยาว

กระสอบ
กระสอบปุ๋ย กระสอบอาหารสัตว์ กระสอบแป้งสาลี กระสอบข้าวสาร(ไม่ใช่กระสอบป่าน) สารพัดกระสอบ กระสอบขนาดเล็กขนาดใหญ่ใช้ได้ทั้งนั้น ปัจจุบันมีกระสอบปุ๋ยอีกชนิดหนึ่งชนิดที่ไม่รั่วน้ำ กระสอบชนิดนี้ถ้าจะนำ มาใช้ ก็ให้เจาะรูเพื่อระบายน้ำก่อน แต่ถ้ำเป็นกระสอบแบบที่รั่วน้ำ ก็เอามาใช้ได้เลยโดยไม่ต้องเจาะรู

เตรียมดินก่อนใส่กระสอบ
ดินที่นำมาใช้ใส่กระสอบเพื่อปลูกผักนั้น ควรผสมพวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก แกลบ แกลบเผา ฯลฯ ลงไปด้วย

การใส่ดินในกระสอบ
ก่อนที่จะใส่ดินในกระสอบก็ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าจะปลูกอะไร ชอบกินผักอะไร ผักอะไรจำเป็นต้องมี ติดครัว เพื่อจะได้ใส่ดินได้พอดีกับชนิดผักที่จะปลูก ถ้าปลูกพืชรากยาว เช่น พริก มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะเขือเทศ ฯลฯ ให้พับกระสอบ หรือม้วนปากกระสอบ ลงมาให้ใส่ดินได้สูงประมาณ 20-25 เซนติเมตร
 สำหรับการปลูกแนวนอนให้ใส่กระสอบประมาณ 1/2 กระสอบ มัดปากถุงแล้วผลักให้กระสอบนอนลง 

การเจาะรูกระสอบ
ไปหากระป๋องปลากระป๋องมา กระป๋องนมก็ได้ แล้วก็จัดการเจาะรูเท่าขนาดกระป๋องปลากระป๋อง แล้วหยอดเมล็ดผักลงปลูก

ต้นกล้าหรือเมล็ดพันธุ์
นำเมล็ดพันธุ์หยอดลงในหลุมของกระสอบลึกประมาณ 1 ข้อนิ้วมือ สำหรับต้นกล้าก็ฝังลงดินที่หลุมที่เตรียมไว้มีความกว้างเพียงพอ

การดูแล
เมื่อต้นแข็งแรงก็ให้รดน้ำหมักปลา หรือน้ำหมักเศษผักผลไม้ น้ำหมักหอยเชอรี่ หรือรดจุลินทรีย์ ที่มีขายตามท้องตลาด ก็ตามสะดวกที่หามาได้ ทุก 5-7 วัน จะใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักบ้างก็ตามสะดวก ผักก็จะงาม

วิธีปลูกเรดโอ๊ค (Red Oak) ในกระสอบไว้กินเอง

ผักสวนครัวอีกชนิดหนึ่งที่ผมแนะนำให้ปลูกไว้ทานเองที่บ้าน ใช้พื้นที่ไม่มาก คือ เรดโอ๊ค (Red Oak) ผัก เรดโอ๊ค นิยมนำไปทำสลัดทาน วิธีปลูกในกระสอบนั้นง่ายมาก แต่ก่อนอื่นมาดูคุณสมบัติเรดโอ๊คกันก่อน

Red Oak (เรดโค๊ค) : ลักษณะเป็นผักใบสีแดงเข้มและเขียวเข้ม ใบซ้อนกันเป็นชั้นปลายใยหยิกแยกเป็นแฉก เป็นพุ่มหยักสีสวยงาม
คุณค่าทางโภชนาการ : มีกากใยอาหารมากมาย ย่อยง่าย บำรุงสายตา กล้ามเนื้อ ป้องกันโรคปากนกกระจอก ล้างผนังลำไส้ กำจัดพวกไขมัน มีธาตุเหล็ก และวิตตามินC สูง



วิธีการปลูก Red Oak ในกระสอบหรือถุงกระสอบ
1.นำดินที่ผสมปุ๋ยคอกและผสมแกลบด้วยยิ่งดี ใส่ในกระสอบ

2. นำกระป๋องปลากระป๋อง หรือกระป๋องนม มาวางบนกระสอบ ใช้ปากกาวาดเส้นขอบกระป๋อง แล้วเจาะรู ตามตำแหน่งที่ต้องการ 
3. นำเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้า Red Oak ที่เตรียมไว้ หย่อนลงไปในถุง เอาดินกลบเล็กน้อย รดน้ำพอชุ่มๆ คลุมด้วยฟางเล็กน้อย


4. หมั่นรดน้ำทุกเช้า เย็น รอจนต้น Red Oak โตพอที่จะเก็บเกี่ยว จากนั้นก็นำไปทานกับสลัดได้เลย ...
รูปนี้ยังไม่โตเต็มที่นะ 

การปลูกผักในกระถางในบ้านไว้กินเอง

ทุกวันนี้คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันเยอะ การกินผักที่ปลอดสารพิษเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไร้โรคภัยไข้เจ็บ การปลูกผักในกระถาง วิธีการปลูกผักในกระถางนี้ เหมาะกับครอบครัวที่มีบริเวณพื้นบ้านจำกัด หรือบ้านที่นิยมปลูกผักในแบบกึ่งไม้ประดับ 


ข้อดีของการปลูกผักในกระถาง 
-ประหยัดพื้นที่ในการปลูก
-สามารถ เคลื่อนย้าย จัดวาง ปรับเปลี่ยนตำแหน่งกระถางผักได้
-สะดวกต่อการดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิต
-สามารถนำผักที่ปลูกในกระถางไปวางตกแต่งในสวนหย่อม หรือจัดเป็นสวนประดับได้

ขั้นตอนการปลูกผักในกระถาง
1.การเตรียมอุปกรณ์ 
สามารถใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน เช่น กะละมัง, กระถาง, ยางรถยนต์, ถังน้ำ ฯลฯ หากกระถางหรือภาชนะใดมีสารปนเปื้อน พวกน้ำมัน หรือพวกสารเคมีต่างๆ ให้ทำความสะอาดก่อนที่จะนำมาใช้ และให้จัดตกแต่งกระถาง หรือภาชนะี่ จะนำมาใช้ปลูกผัก เช่น ตัดปาก ตัดกัน หรือทำขอบเพื่อให้กระถางคงทน และสวยงาม การเลือกกระถางปลูก ต้องเลือกให้เหมาะสมต่อผักที่จะปลูก กล่าวคือผักที่มีระบบรากลึก ควรปลูกในกระถางที่มีความลึก ผักที่มีระบบรากตื้นเหมาะกับกระถางที่มีความตื้นไม่มาก
2.การเลือกผักที่จะปลูก 
การเลือกผักที่จะปลูก่มีความสำคัญมาก นอกจากจะเลือกผักที่ปลูกให้เหมาะสมกับกระถางปลูกแล้ว ควรเลือกปลูกผักที่มีการใช้บริโภคภายในครอบครัวเป็นประจำทุกวันก่อน เพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นได้รับความสนใจ และมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก และนอกจากผักที่นิยมบริโภคภายในครอบครัวแล้วควรเลือกปลูกผักที่สมาชิกในครอบครัวชอบรับประทานด้วย เพราะจะทำให้ผักนั้นได้รับความสนใจจากสมาชิกในครอบครัวตามไปด้วย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเลือกผักมีความสำคัญ ไม่ควรปลูกผักที่ไม่มีผู้บริโภคเพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นไม่คุ้มค่า
3.การเตรียมดิน 
ดินที่ใช้ปลูกผักในกระถางต้องเตรียมให้ดี และเหมาะสมกับผักแต่ละชนิด การเตรียมดินสำหรับปลูกผักในกระถางสามารถทำได้เองโดยมีส่วนผสม ดังนี้
-ดินร่วน 1 ส่วน
-ทราย 1 ส่วน
-ปุ๋ยหมัก หรือปุ่ยคอก 1 ส่วน
-ขึ้เก้าแกลบ, ขุยมะพร้าว 1 ส่วน
นำทั้ง 4 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ดี ก่อนนำลงปลูก หากกระถางมีรูใหญ่จะดินรั่วออกได้ ให้นำหินหรือเศษกระเบื้องวางทับก่อน ถ้าส่วนผสมดังกล่าวไม่สามารถหาได้ อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมใบพืชผุ ใบไผ่ผุ ผสมกับดินก็ได้ และหากไม่สะดวกที่จะผสมดินใช้เอง สามารถหาซื้อดินผสมเสร็จ ที่มีขายอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ แต่ควรดูส่วนผสมของดินให้ดี ถ้าหากมีส่วนผสมของใบก้ามปู หรือเปลือกถั่วจะเหมาะสมกว่าดิน ที่มีส่วนผสมของแกลบ หรือกาบมะพร้าว ดินที่ผสมเสร็จแล้วนำไปบรรจุในกระถางที่เตรียมปลูกผัก การบรรจุไม่ควรให้เต็มกระถาง หรือเสมอขอบ ควรเติมหลังจากปลูกผักไปแล้ว จึงจะเพิ่มดินให้อยู่ในระดับที่ต้องการ
4.การปลูกผักลงกระถาง 
ขึ้นอยู่กับชนิดของผักที่จะปลูก คือ สามารถทำได้ทั้งปลูกแบบใช้เมล็ดพันธุ์หว่าน หรือหยอดลงกระถางเลย หรือ เพราะต้นกล้าก่อนแล้วจึงนำลงปลูกในกระถาง หรือผักบางชนิดสามารถใช้วิธีปักชำลงในกระถางได้เลย
วิธีหว่านหรือหยอดเมล็ด 
โดยหว่างเมล็ดลงให้กระถางโดยกะระยะห่างของเมล็ด หรือหลุมที่หยอดให้เหมาะสมกับชนิดของผัก ผักที่นิยมปลูกโดยใช้เมล็ดได้แก่ ผักชี, ผักบุ้งจีน, ตั้งโอ๋, ขึ้นฉ่าย เป็นต้น
วิธีเพาะต้นกล้าผักก่อนปลูก 
นำต้นกล้าผักที่เพาะเมล็ดได้ระยะเวลาที่พอเหมาะ โดยสังเกตจากลักษณะของลำต้น และระบบรากฝอย ถ้าสมบูรณ์ก็สามารถย้ายต้นกล้าผักลงปลูกได้เลย ผักที่นิยมปลูกวิธีนี้ได้แก่ ผักคะน้า, ผักกาดขาว, ผักกาดเขียว, ผักกาดหอม, กะหล่ำปลี, ปูเล่, กะเพรา, โหระพา เป็นต้น
วิธีนำส่วนของผักมาปักชำ 
ผักที่สามารถนำมาลงปลูกแบบปักชำในกระถางได้เลย เช่น สะระแหน่, ชะพลู, หอมแบ่ง, ตะไคร้ ฯลฯ
การปักชำต้องดูว่าผักแต่ละชนิดใช้ส่วนใดในการปักชำได้ ผักบางชนิดมีรากลึกกระถางที่ใช้ปักชำควรมีความลึกที่เหมาะสมต่อผักด้วย หรือผักบางชนิดต้องใช้ไม้ปัก เพื่อพยุงลำต้นผักให้ตั้งตรงและป้องกันการกระทบกระเทือนเวลารดน้ำ ในช่วงแรกๆของการปักชำด้วย
5.การดูแลรักษาผักในกระถาง 

ผักที่ปลูกในกระถางสามารถทำการดูแลรักษาได้ง่าย โดยคอยรดน้ำให้ดินในกระถางในมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืช พรวนดิน และใส่ปุ๋ยหากผักมีเจริญเติบโตไม่ดี และควรเปลี่ยนดินเมื่อมีการปลูกผักในครั้งต่อไป หรือปลูกผักชนิดใหม่ในกระถางเดิม ถ้าหากที่ที่วางกระถางอยู่ผักที่ปลูกได้รับแสงไม่เพียงพอ สามารถย้ายกระถางไปวางไว้ในที่มีแสงเพียงพอได้
6.การเก็บเกี่ยว 

สำหรับผักที่ปลูกในกระถาง หากเป็นผักที่บริโภคในส่วนของใบ ให้เก็บใบล่างไปก่อน เหลือยอดบนไว้ให้เจริญต่อไป เช่น ผักกาด คะน้า ปูเล่ ถ้าเป็นผักที่ใช้ส่วนยอดอ่อนบริโภค ควรเลือกเก็บเฉพาะยอดเท่านั้น จะทำให้ผักมีการแตกยอดอ่อนเจริญเติบโตให้เราได้ใช้บริโภคอีก เช่น สะระแหน่, กะเพรา, โหระพา ฯลฯ
ข้อควรคำนึง 
ในการปลูกผักในกระถาง ต้องเลือกผักที่ครอบครัวจำเป็นต้องใช้บริโภค เลือกวัสดุเหลือใช้มาใช้เป็นวัสดุปลูกผัก เรื่องของชนิดของผักกับกระถางปลูก ควรจะพิจารณาถึง การหยั่งรากตื้น ของพืชผัก พืชผักที่หยั่งรากตื้น และสามารถ ปลูกลงภาชนะ ปลูกชนิดต่าง ๆ และชนิดห้อยแขวนได้ดี และมีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร ดังต่อไปนี้คือ--  ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องแต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
--  วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวน อาจใช้กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

การปลูกผักในกระถาง หรือในภาชนะ
วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี
1.เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก
ผักบุ้งจีน, คะน้าจีน, ผักกาดขาวกวางตุ้ง, ผักกาดเขียวกวางตุ้ง, ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน), ตั้งโอ๋, ปวยเล้ง, ผักกาดหอม, ผักโขมจีน, ผักชี, ขึ้นฉ่าย, โหระพา, กระเทียมใบ, กุยฉ่าย, หัวผักกาดแดง, กะเพรา, แมงลัก, ผักชีฝรั่ง, หอมหัวใหญ่
2.ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว
หอมแบ่ง (หัว), ผักชีฝรั่ง, กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก), หอมแดง (หัว), บัวบก (ไหล), ตะไคร้ (ต้น), สะระแหน่ (ยอด), ชะพลู (ต้น), โหระพา (กิ่งอ่อน), กุยช่าย (หัว), กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน), แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน) ** มีบางพืชที่ปลูกด้วยหัว หรือส่วนของต้นก็ได้หรือปลูกด้วยเมล็ดก็ได้ ดังนั้นจึงมีชื่อผักที่ซ้ำกันทั้งข้อ 1 และ 2


การปฏิบัติดูแลรักษาผักในกระถาง หรือในภาชนะ
การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่
1.การให้น้ำ
การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำอย่างเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า – เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก
2.การให้ปุ๋ย มี 2 ระยะ คือ
2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกปุ๋ยที่ใส่รองพื้นควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่ว ก่อน ปลูกเพื่อ ปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการ อุ้มน้ำและรักษาความชื้น ของดินให้เหมาะสม กับการ เจริญเติบโตของพืชด้วย
2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรจะใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบาง ๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ ผักตาย ได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้น และใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล
3.การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการกำจัดวัชพืช การให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและ แมลง ระบาด มากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่าง ๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่าง ๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสม น้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดาถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจักจั่น ให้ใช้น้ำยา ล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทากให้ใช้ปูนขาวโรยบาง ๆ ลงบริเวณพื้นดิน
4.การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผัก ประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดี และจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง
สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อน หรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคง เหลือ ลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผล ได้อีกหลายครั้งทั้งนี้จะต้อง มีการดูแล รักษา ให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพื้นหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผัก หลายชนิดในแปลงเดียวกันและปลูกผัก ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้าง ยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทาน ได้ใน ครอบครัว ในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี



Post :การปลูกพืชในกระถางไว้กินเอง
Link Post : http://ปลูกผักสวนครัว.blogspot.com/2012/01/growing-vegetables-in-pots.html
ที่มา : www.vegetweb.com

วิธีปลูกต้นหอมในกระถาง



วันนี้เอาวิธีการปลูกต้นหอมไว้ทานเองที่บ้าน จะบอกว่าปลูกง่ายมากๆ และต้นหอมเป็นพืชผักที่โตไวอีกด้วย

ประโยชน์ของต้นหอม

-นิยมนำไปประกอบอาหาร เพื่อเพิ่มความหอม รสชาติ และสีสันที่น่ากินมากขึ้น หรือไม่ก็นิยมใช้เป็นผักกินสดเคียงกับอาหารต่าง ๆ
-เมื่อกินต้นหอมเข้าไปในร่างกายก็จะได้รับสารเบต้าแคโรทีน สารฟลาโวนอยด์ แคลเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยในการต้านมะเร็ง ลดคอลเลสเตอรอล ควบคุมความดัน และป้องกันหลอกเลือดหัวใจอุดตัน
-นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นยา โดยการนำต้นหอมไปบุบพอกตรงที่ถูกแมลงกัดต่อย ระงับปวดได้ และถ้าเอาไปสูดดม ช่วยแก้อาการคัดจมูกได้เป็นอย่างดี
-สำหรับสรรพคุณทางด้านสมุนไพร เป็นยารักษาโรคใช้ลดไข้และรักษาแผล ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและยับยั้งการเกิดเส้นเลือดอุดตัน บรรเทาอาการหวัด โดยใส่ในน้ำเดือด แล้วสูดกลิ่นจากไอน้ำ นอกจากนี้ยังแก้ผดผื่นคัน และถอนพิษแมลงกัดต่อยได้อีกด้วย

มาดูวิธีปลูกกันเลยครับ
- เตรียมดินที่มีสภาพร่วน ผสมด้วยเปลือถั่ว หรือแกลบไว้
- เตรียมหัวต้นหอม โดยคัดเลือกหัวหอมที่มีรากติดอยู่กับหัวหอม

- นำหัวหอมมาปลูกในดินในกระถางที่เตรียมไว้ นำหัวมาปักลงในกระถาม โผล่หัวนิดๆเอาไว้หายใจ รดน้ำพอชุ่ม 

- เมื่อแตกใบก็สามารถตัดใบไปประกอบอาหารได้

- วิธีการเก็บต้นหอมไม่ให้กระทบกระเทือน คือ เอามือซ้ายจับกดไว้ เอามือขวาจับต้นออกมา 1 หรือ 2 ต้น แล้วดึงต้นออกข้างๆ กอ อย่าถอนทั้งกอ หรือเอามีดไปตัดเป็นต้นๆ


ที่มารูปจาก : www.baanmaha.com


ปลูกผักสวนครัวในบ้านเดี่ยวไว้กินเอง


เรามาปลูกผักไว้กินเองกันเถอะ ประหยัดทั้งเงินและยังได้สุขภาพที่ดีจากการกินผักไร้สารพิษที่เราปลูกเองอีกต่างหาก การปลูกผักสวนครัวไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดครับ สำหรับลักษณะบ้านเดี่ยวนั้นส่วนใหญ่จะมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 50 ตาราวา ซึ่งเมื่อปลูกบ้านแล้ว มีเนื้อที่ปลูกผักสวนครัวได้ประมาณ 50-100 ตารางเมตร ลักษณะการปลูกผักสวนครัวในที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยวนั้นมีทางเลือกค่อนข้างมากกว่าที่อยู่อาศัยประเภทอื่นๆ   ซึ่งการเลือกทางเลือกใดก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน หรืออาจจะนำเอาหลายๆ รูปแบบมาประยุคต์เข้าด้วยกันก็ได้  ทางที่ดีน่าจะหยั่งเสียงกันในครอบครัวก่อนว่าชอบรูปแบบใด  ซึ่งเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยและความสามัคคีในครอบครัวด้วย  นอกจากนี้ยังทำให้คนในครอบครัวทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของสวนครัวที่ได้เลือกขึ้นมาด้วยการดูแลรักษา  จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนในครอบครัว ซึ่งนับว่าเป็นผลดีทางอ้อมของการทำสวนครัวในบ้าน รูปแบบการปลูกผักสวนครัวในบ้านเดี่ยว  มีทางเลือกหลายแบบดังต่อไปนี้

จัดเป็นสวนหย่อมสวนครัว  ทั้งนี้อาจจัดเป็นมุมสวนครัวหรือการตกแต่งบริเวณนั้นด้วยพืชผักสวนครัว ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์ในการใช้บริโภคแล้ว ยังได้ความสวยงามที่แปลกตาอีกด้วย หรืออาจปลูกใส่กระถางแล้วไปตั้งไว้ตามมุมใด มุมหนึ่ง แต่เน้นในความสะดวกในการขนย้าย
เมื่อต้องการจัดตกแต่งใหม่......เน้นผักที่ไม่ต้องการดูแลมากนัก หรือผักที่ต้องการร่มเงาเพราะอาจจะปลูกไว้ใต้ร่มเงาบริเวณบ้าน เช่น โหระพา กะเพรา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บางบ้านเทคอนกรีตบริเวณบ้านทั้งหมดจนไม่มีพื้นที่เพียงพอจะปลูกพืชผักสวนครัว หรือต้องการปลูกพืชผักสวนครัวแบบประหยัดเนื้อที่โดยเอาพื้นที่ด้านล่างปลูกไม้อื่นที่ต้องการร่มเงา เช่น หน้าวัว เฟิร์น หรือปลูกผักบางประเภทที่ทนร่มเงา เช่น ชะพลู ขิง กระชาย ขมิ้น ขมิ้นขาว เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้อาจยืมแนวความคิดในเรื่องการปลูกสวรครัวลอยฟ้า และการปลูกสวนครัวในพื้นที่จำกัดมาประยุคต์ใช้ด้วยก็ได้


ปลูกริมรั้ว  หรือการทำค้างให้ผักเลี้อยเกาะ การปลูกผักประเภทนี้เน้นการปลูกเป็นแถวตามแนวรั้วกินด้ เช่น ตำลึง กระถิน ชะอม ผักหวานบ้าน ถั่วพู เป็นต้น ซึ่งผักประเภทนี้ควรเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝน รวมทั้งต้องมีการดูแลรักษาบ้าง เช่นเดียวกับผักสวนครัวประเภทอื่นๆ ไม่ควรปล่อยปละละเลยด้วยเห็นว่าเป็นผักที่ขึ้นง่าย  นอกจากนี้เมื่อถึงเวลาอันควรก็ต้องมีการรื้อแปลงทิ้งแล้วปลูกใหม่ เช่น ชะอมควรมีการรื้อแปลงทิ้งทุกๆ 4 ปี แล้วปลูกใหม่เพื่อการเก็บผลผลิตที่ดีกว่า


ปลูกผักลงแปลงปลูก ในกรณีที่มีบริเวณบ้านเพียงพอชนิดผักที่เลือกปลูก ควรเป็นผักอายุสั้นหรือที่เยกกันว่า พืชผักล้มลุก ปลูกหมุนเวียนสลับกันไปหรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน  โดยปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันคละกัน หรือปลูกในแปลงเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยวเท่ากับว่าชนิดของผักปรับได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่และความต้องการในการบริโภค  ซึ่งทำให้มีผักสดเก็บไว้รับประทานได้ทุกวันตลอดปี
 ... แปลงปลูกผักสวนครัวควรอยู่ด้าเหนือหรือด้านใต้ของตัวบ้านหรือแปลงผักให้หลีกเลี่ยงเงาบ้านทอดทับแปลงผัก  การเตรียมแปลงปลูกทำได้ 2 วิธี แล้วแต่การวางแผนการปลูกพืชผักสวนครัวในแต่ละบ้าน


การเตรียมแปลงปลูกแบบธรรมดา ขนาด 1 เมตร และยาว 4 เมตร เพียง 3-4 แปลงก็นับว่าพอ แปลงปลูกแต่ละแปลงควรห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร สำหรับใช้เป็นทงเดิน  ขุดดินด้วยจอบพลิกดินลึก 6-8 นิ้ว ตากดินจนแห้งใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ จากนั้นย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง ยกแปลงสูงจากระดับพื้นดิน 20-25 เซนติเมตร ขุดเปิดตอนกลางของแต่ละแปลงเป็นร่องกว้าง 1 ฟุต ลึก 6-8 นิ้ว นำเศษไม้ใบหญ้า หรือ ฟางข้าวใส่จนเต็มอัดให้แน่นพอประมาณ จะช่วยระบายน้ำเก็บความชื่นได้ดียิ่งขึ้น  ย่อยดินปลับผิวแปลงให้เรียบ ใส่ปูนขาว 3-5 กิโลกรัม และปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 4-5 บุ้งกี๋ คลุกเคล้าให้เข้ากันเกลี่ยปลับผิวแปลงให้เรียบอีครั้ง

การเตรียมแปลงปลูกแบบล้อมรั้ว ซึ่งวัตถุประสงค์การทำรั้วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าไปทำลายพืชผัก การปลูกพืชผักสวนครัวในลักษณะนี้คงต้องมีที่กว้างขวางหน่อยใช้เนื้อที่ประมาณ 36 ตารางเมตร กว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกไม่เกิน 5 คน รูปแบบนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุด  เนื่องจากมีเนื้อที่ปลูกเพียง 36 ตารางเมตรเท่านั้น แต่สามารถปลูกผักได้ถึง 48 ชนิด แบ่งเป็นผักยืนต้นปานกลางอายุยืน และผักล้มลุกอายุยืน 14 ชนิด เช่น ตะไคร้ ข่า ขิง กระชาย กะเพรา แมงลัก ผักหวานบ้าน โหระพา ชะอม ผักชีฝรั่ง ชะพลู บัวบก เป็นต้น ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวไว้รับประทานตลอดทั้งปี รวมทั้งพืชล้มลุกอายุสั้นปลูกหมุนเวียนตลอดทั้งปี 34 ชนิด เช่น หอมแบ่ง ( ต้นหอม ) กุยช่าย กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี เป็นต้น ทำแปลงผักยืนต้นอายุยืนติดกับรั้วด้านในกว้าง 50 เซนติเมตร แบ่งออกเป็นแปลงเล็กๆ ยาวแปลงละ 1 เมตร จำนวน 16 แปลง และแปลงรอบรั้วติดกับประตูทางเข้าอีก 4 แปลง ยาวแปลงละ 1.25 เมตร รวม 20 แปลงเล็ก ซึ่งจะปลูกพืชยืนต้น  และยืนต้นปานกลางได้ 14 ชนิด ทำแปลงผักพืชล้มลุกหมุนเวียนให้มีความกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 แปลง โดยแต่ละแปลงแบ่งเป็นแปลงเล็กๆ แปลงละ 1 ตารางเมตร  จะปลูกพืชหมุนเวียนได้ครั้งละ 12 ชนิด หมุนเยนตลอดทั้งปี


สวนครัวกระดาษ  การเตรียมแปลงปลูกแบบนี้เป็นการนำเอาทรัพยากรมาหมุนเวียนให้เป็นประโยชน์  เป็นแนวความคิดของกลุ่มผู้ปลูกผักสวนครัวย่านชานเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งดัดแปลงมาจากงานวิจัยในการปลูกผักแบบใช้น้ำน้อย เริ่มตั้งแต่การเลือกสถานที่ทำแปลงให้ใกล้ครัวมากที่สุด เพื่อความสะดวกในการเก็บผลผลิตเมื่อขาดอะไรก็เดินเข้าไปเก็บมาใช้ได้เลย กำหนดขนาดที่เหมาะสมทำได้ตั้งแต่ 2-3 ตารางเมตร ไปจนถึง 25 ตารางเมตร รูปทรงไม่จำกัดเพียงแต่ให้มีพื้นที่รอบๆ แปลง ให้เดินเข้าไปได้ ตัดหญ้าให้เรียบติดดิน เอาปุ๋ยคอกมาโรยให้ทั่วแปลงหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ปูกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกล่องกระดาษทับบนปุ๋ยคอก โดยให้ซ้อนทับกันอย่าให้มีช่องว่าง ถ้าใช้กระดาษหนังสือพิมพ์จะทนกว่าแต่ต้องปูให้หนา ถ้าใช้กล่องกระดาษอย่างหนาปูชั้นเดียวก็พอ นำอิฐมาเรียงตามขอบแปลง ทับลงบนกระดาษให้ชายกระดาษล้ำออกมาประมาณ 20 เซนติเมตร เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มบนชั้นกระดาษนำแกลบมาโรยหนาประมาณ 1 คืบแล้วรดน้ำอีกที หลังจากนั้นจะใช้วิธีย้ายกล้ามาปลูก หรือหยอดเมล็ดก็ทำคล้ายกัน คือ แหวกแกลบลงไปเป็นหลุมจนถึงกระดาษ ใช้มีดกรีดกระดาษให้เปิดออกแล้วขุดงไปในชั้นดินให้เป็นหลุมเล็กๆ พอปลูกได้ ถ้าดินยังไม่ดีให้หาดินร่วนมากรอกใส่หลุม จะช่วยให้กล้าผักมีดินสำหรับยึดรากในช่วงตั้งตัว  วัสดุแต่ละชิ้นมีหน้าที่ของมัน ปุ๋ยคอกเป็นตัวให้ธาตุอาหาร..  ..และมีจุลินทรียืทำงานอย่างแข็งขัน  กระดาษเป็นตัวสกัดการเจริยเติบโตของวัชพืช ดังนั้นจึงต้องปูให้หนาเพื่อที่วัชพืชจะได้ไม่ได้รับแสงแดด อิฐเป็นตัวสกัดไม่ให้วัชพืชจากภายนอกรุกล้ำเข้ามาในแปลง แกลบและกระดาจะเป็นตัวเก็บความชื้นในดิน ดังนั้นในฤดูฝนแทบไม่ต้องรดน้ำ จะรดบ้างในฤดูร้อน 5-7 วันครั้งก็ยังได้ แกลบและกระดาษจะย่อยสลายเป้นหน้าดินภายในปีเดียว
... เมื่อผ่านขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว  ก่อนลงมือปลูกควรทดสอบเปอร์เซนต์การงอกของเมล็ดผักเสียก่อน เพื่อที่จะได้รูว่าเมล็ดพันธุที่ซื้อมานั้นดีหรือไม่เมื่อลงทุนลงแรงปลูกไปแล้วจะได้ไม่เสียแรงปล่า โดยการนำเมล็ดจำนวน 100 เมล็ด เพาระในกระดาษทิชชชู รดน้ำให้ชุ่ม 2 คืน เปิดกระดาษนับเมล็ดที่งอก ถ้ามีอัตราร้อยละ 80 ขึ้นไปนับว่าใช้ได้  นำเมล็ดหว่านลงในแปลงที่เตรียมไว้ อย่าให้หนาแน่นจนเกินไปทั่วทั้งแปลง หรือใช้วิธีหยอดหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด ระยะปลูก 5 x 10 เซนติเมตร กลบด้วยฟางข้าวบางๆทั่วทั้งแปลง หลังเมล็ดงอกแล้ว 10 วัน ถอนแยกต้นที่หนาแน่นเกินไปออก ส่วนในวิธีการหยอดเมล็ดนั้นให้ถอนเหลือ 2 ต้นต่อหลุม
 ... เมื่อพบว่ามีมด หรือแมลงเข้ามารบกวนกัดกินเมล็ดให้ราดด้วยน้ำหน่อไม้ดองผสมกับน้ำอย่างเข้มข้น สัปดาห์แรกใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ รดให้ทั่วแปลง  และย่างเข้าสัปดาห์ที่ 4 ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 โดยใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 3-4 ช้อนแกงต่อแปลงหลังจากกำจัดวัชพืชแล้ว  โรยปุ๋ยห่างจากโคนต้นเล็กน้อยรดน้ำตามทันที หมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบแมลงศัตรูระบาดให้จับทำลายทิ้ง ถ้าหากมีการระบาดรุนแรง ให้ฉีดยาพ่นด้วยสารสกัดที่ได้จากเมล็ดสะเดา ข่าแก่ และตะไคร้หอม ในอัตราส่วนผสม 1 กิโลกัม บดให้ละเอียดแช่น้ำ 1 ปี๊บ  หมักทิ้งไว้ 1 คืน  กรองเอาแต่น้ำเจือจางด้วยน้ำอีก 1-2 ปี๊บ ฉีดพ่นตอนเย็นทุกๆ 3 วัน 2-3 ครังจะช่วยกำจัดหนอนผีเสื้อ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยอ่อน อมลงวัน และด้วงปีกแข็งบางชนิด ภายหลังการเก็บเกี่ยวให้ขุดพลิกดินเพื่อทำลายศัตรูพืชที่อาศัยอยู่ในดิน 1-2 สัปดาห์


หมายเหตุ ไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำที่เดิม


Post : ปลูกผักสวนครัวในบ้านเดี่ยวไว้กินเอง
Link Post :http://ปลูกผักสวนครัว.blogspot.com/2012/01/growing-vegetables-in-home.html
ที่มา : Oknation.net/blog